ผื่นจากเครื่องสำอาง
นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ http://www.thaicosderm.org/
เวลาที่เราพูดถึงคำว่า "เครื่องสำอาง" เรามักจะหมายถึงเพียงแค่พวกแป้ง หรือรองพื้นต่างๆ แต่ความจริงแล้ว คำว่าเครื่องสำอางนี้ ความหมายกว้างมาก ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางปี 2535 ให้ความหมายไว้ดังนี้ครับ "วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาดความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับ และเครื่องแต่งตัว เป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย"
จากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นว่า นอกจากเครื่องแต่งหน้าที่ผู้หญิงใช้แล้ว ยังรวมถึงพวกสบู่ ยาสีฟัน แชมพูต่างๆ ด้วย ซึ่งจะพบว่าทั้งเด็ก, ผู้หญิง, ผู้ชาย และคนสูงอายุ ก็ต้องใช้เครื่องสำอางกันทุกคนเลยครับ
เวลาผู้ป่วยมาหาแพทย์ผิวหนัง แล้วบอกว่าเป็น "ผื่นจากเครื่องสำอาง" นั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)
ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis)
ผื่นลมพิษสัมผัส (Contact urticaria)
สิวจากเครื่องสำอาง (Acne cosmetica) ซึ่งสิวชนิดนี้ แพทย์ผิวหนังมักจะให้การวินิจฉัยได้ไม่ยากนัก จากประวัติการใช้เครื่องสำอาง และการตรวจดูสภาพของสิว ส่วนการทดสอบโดยเฉพาะนั้นไม่มีครับ
ส่วนผื่นลมพิษสัมผัสนั้นพบค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดถึง ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายสัมผัสซึ่งเป็นสิ่งที่พบบ่อยกว่าปัญหาจากเครื่องสำอางจริงๆ แล้ว ส่วนมากเป็นการระคายเคือง มากกว่าการแพ้ แต่การที่แพทย์ผิวหนัง จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นการระคายเคืองหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) แล้วดูว่าเป็นการแพ้หรือเปล่าเสียก่อน เพราะเหตุว่า การทดสอบการระคายเคืองทางตรงยังไม่มี
วิธีทดสอบผื่นแพ้สัมผัส patch test
การที่แพทย์ผิวหนังจะบอกได้ว่า คุณแพ้สารอะไรนั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) โดยมีขั้นตอนอย่างย่อๆ ดังนี้
แพทย์จะปิดพลาสเตอร์ที่มีสารภูมิแพ้ (allergen) ไว้ที่หลังของผู้ป่วย (สมมติว่าวันจันทร์)
แพทย์จะนัดมาแกะพลาสเตอร์ออก พร้อมอ่านผลครั้งที่ 1 (วันพุธ) และอ่านครั้งที่ 2 (วันศุกร์)
ในระหว่างการทดสอบ ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่มีเหงื่อออกมาก เช่น วิ่ง เล่นกีฬา หรือถูกแสงแดดมากๆ
ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ ก็ไม่ควรทำการทดสอบชนิดนี้
ถ้าคุณได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ (ยารับประทานหรือยาฉีด) จะต้องหยุดยาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้ทดสอบผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง (ยกเว้นบางอย่าง ที่จะเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เช่นสบู่) ซึ่งเรียกว่า ROAT (Repeat Open Application Test ) หรือUse test โดยการทาผลิตภัณฑ์นั้นบน ท้องแขน ข้อพับแขน วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ถ้ามีผื่นเกิดขึ้น ก็แสดงว่าแพ้จริง (การทดสอบนี้อาจทดสอบกับผลิตภัณฑ์ที่สงสัยเองก็ได้)
เวลาที่เราพูดถึงคำว่า "เครื่องสำอาง" เรามักจะหมายถึงเพียงแค่พวกแป้ง หรือรองพื้นต่างๆ แต่ความจริงแล้ว คำว่าเครื่องสำอางนี้ ความหมายกว้างมาก ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางปี 2535 ให้ความหมายไว้ดังนี้ครับ "วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาดความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับ และเครื่องแต่งตัว เป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย"
จากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นว่า นอกจากเครื่องแต่งหน้าที่ผู้หญิงใช้แล้ว ยังรวมถึงพวกสบู่ ยาสีฟัน แชมพูต่างๆ ด้วย ซึ่งจะพบว่าทั้งเด็ก, ผู้หญิง, ผู้ชาย และคนสูงอายุ ก็ต้องใช้เครื่องสำอางกันทุกคนเลยครับ
เวลาผู้ป่วยมาหาแพทย์ผิวหนัง แล้วบอกว่าเป็น "ผื่นจากเครื่องสำอาง" นั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)
ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis)
ผื่นลมพิษสัมผัส (Contact urticaria)
สิวจากเครื่องสำอาง (Acne cosmetica) ซึ่งสิวชนิดนี้ แพทย์ผิวหนังมักจะให้การวินิจฉัยได้ไม่ยากนัก จากประวัติการใช้เครื่องสำอาง และการตรวจดูสภาพของสิว ส่วนการทดสอบโดยเฉพาะนั้นไม่มีครับ
ส่วนผื่นลมพิษสัมผัสนั้นพบค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดถึง ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายสัมผัสซึ่งเป็นสิ่งที่พบบ่อยกว่าปัญหาจากเครื่องสำอางจริงๆ แล้ว ส่วนมากเป็นการระคายเคือง มากกว่าการแพ้ แต่การที่แพทย์ผิวหนัง จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นการระคายเคืองหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) แล้วดูว่าเป็นการแพ้หรือเปล่าเสียก่อน เพราะเหตุว่า การทดสอบการระคายเคืองทางตรงยังไม่มี
วิธีทดสอบผื่นแพ้สัมผัส patch test
การที่แพทย์ผิวหนังจะบอกได้ว่า คุณแพ้สารอะไรนั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) โดยมีขั้นตอนอย่างย่อๆ ดังนี้
แพทย์จะปิดพลาสเตอร์ที่มีสารภูมิแพ้ (allergen) ไว้ที่หลังของผู้ป่วย (สมมติว่าวันจันทร์)
แพทย์จะนัดมาแกะพลาสเตอร์ออก พร้อมอ่านผลครั้งที่ 1 (วันพุธ) และอ่านครั้งที่ 2 (วันศุกร์)
ในระหว่างการทดสอบ ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่มีเหงื่อออกมาก เช่น วิ่ง เล่นกีฬา หรือถูกแสงแดดมากๆ
ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ ก็ไม่ควรทำการทดสอบชนิดนี้
ถ้าคุณได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ (ยารับประทานหรือยาฉีด) จะต้องหยุดยาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้ทดสอบผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง (ยกเว้นบางอย่าง ที่จะเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เช่นสบู่) ซึ่งเรียกว่า ROAT (Repeat Open Application Test ) หรือUse test โดยการทาผลิตภัณฑ์นั้นบน ท้องแขน ข้อพับแขน วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ถ้ามีผื่นเกิดขึ้น ก็แสดงว่าแพ้จริง (การทดสอบนี้อาจทดสอบกับผลิตภัณฑ์ที่สงสัยเองก็ได้)
สารอะไรบ้างที่แพ้บ่อย ?
น้ำหอม (fragrance ) คำว่าน้ำหอมนี้ไม่ใช่หมายถึงน้ำหอมที่ใช้ฉีดเท่านั้น เครื่องสำอางเกือบทุกชนิด เช่น ครีมบำรุงผิว หรือสบู่ ก็จะใส่น้ำหอม เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อด้วย แต่ตอนหลังคนแพ้น้ำหอมกันมาก ผู้ผลิตเลยใช้คำว่า fragrance-free, unscented ซึ่งต่อมาคำพวกนี้มีปัญหามาก และไม่มีกฎหมายควบคุมที่ดีพอ เช่นสารบางอย่าง สามารถเป็นส่วนประกอบของน้ำหอม และอาจจะทำหน้าที่อื่นด้วย ผู้ผลิตก็อ้างว่าเป็น fragrance free ซึ่งปัจจุบันมีปัญหากันมากขึ้น ในประเทศอเมริกา แพทย์ผิวหนังบางท่านเสนอว่า สารเคมีที่เป็นน้ำหอม และสามารถทำหน้าที่อื่นได้ด้วย (dual function ) ให้ใส่เครื่องหมาย ให้ผู้บริโภคได้ทราบด้วย
สารกันบูด (preservative) เป็นสารที่พบการแพ้ค่อนข้างบ่อย สารดังกล่าวใส่เพื่อไม่ให้เครื่องสำอางเสีย แต่บางบริษัทก็โฆษณาว่า เครื่องสำอางของตนเป็น preservative-free ก็เช่นเดียวกันกับเรื่องน้ำหอมที่สารบางอย่างสามารถทำหน้าที่ได้ 2 อย่าง (dual function) ทำให้ผู้ผลิตอ้างได้ว่าเป็น preservative-free
การรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้สัมผัส ควรจะปฏิบัติดังนี้
หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดปฎิกริยาผื่นแพ้ต่อผิวหนัง รวมทั้งสารทำให้เกิดปฏิกริยาข้ามพวก (cross-reaction)
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี ส่วนประกอบของสารที่ทำให้เกิดปฏิกริยาผื่นแพ้
ถ้าสงสัยว่า เครื่องสำอางชิ้นใด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น เพิ่งซื้อมาใหม่ ก็ให้หยุดใช้ชิ้นนั้นแล้วกลับไปใช้ยี่ห้อเก่าที่เคยใช้แล้วไม่เป็นอะไร เครื่องสำอางยี่ห้อเดียวกัน ชนิดเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ ก็อาจเกิดปัญหาได้ เพราะผู้ผลิตอาจเปลี่ยนสูตร หรือคุณภาพของส่วนผสมไม่เหมือนเดิม ถ้าไม่ทราบว่าเป็นชิ้นใด ก็ให้หยุดทุกชนิด แล้วไปพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการทดสอบภูมิแพ้โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) และควรนำเครื่องสำอางทุกชนิด พร้อมกล่องมาด้วย
ถ้าคาดว่า จะแพ้จากเครื่องสำอางที่ใช้ทาผิวหน้า คุณยังอาจใช้ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วได้ ถ้าไม่เกิดผื่นบริเวณนั้นๆ หรืออาจเลือกใช้เครื่องสำอางบางชนิด (ที่เคยใช้แล้วไม่มีปัญหา) เช่น แป้งฝุ่น สบู่ หรือครีมบำรุงผิวก็ได้
ส่วนคำต่างๆ เช่น hypoallergic, dermatologist tested นั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่มีกฏเกณฑ์ที่ดีพอในการควบคุมการใช้คำเหล่านั้น สำหรับผมคิดว่า เป็นเพียงการตลาด (marketing) แบบหนึ่งเท่านั้น
ถ้าคุณมีผื่นจากเครื่องสำอาง เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะลองใช้วิธีที่ผมและนำไปก็ได้ แต่ถ้าเป็นมากหรือเป็นบ่อยๆ ผมว่าคุณควรไปพบแพทย์ผิวหนังดีกว่าครับ ว่าคุณแพ้อะไรกันแน่ หรืออาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบบริเวณต่อมไขมัน (seborrheic dermatitis) ก็ได้ครับ